วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ยางพารา














 วิธีปลูกยางพารา
การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ

การกรีดยาง

ยางพันธุ์ดีไม่เหมือนยางพันธุ์พื้นเมือง กรีดครั้งหนึ่งน้ำยางออกมากกว่ายางพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 1-3 เท่า ฉะนั้นการจะกรีดยางพันธุ์ดีบ่อยครั้งเหมือนกับการกรีดยางพื้นเมืองจึงทำไม่ได้ จำเป็นต้องให้มีเวลาพัก มิฉะนั้นต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้ง คือกรีดแล้วน้ำยางไม่ออก

วิธีการกรีดยาง


ต้นยางทุกต้นมีท่อน้ำยางอยู่ที่เปลือก วนเวียนรอบ ๆ ต้นจากบนขวามาล่างซ้าย การกรีดยางจากขวามาซ้าย ซึ่งกรีดกันมาแต่ ก่อนนั้นท่อน้ำยางถูกตัดขาดน้อยกว่าการกรีดจากซ้ายมาขวา ฉะนั้นจึงควรกรีดจากซ้ายมาขวา เพื่อให้ท่อน้ำยางถูกตัดขาดมาก จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น

ทางเดินของท่อน้ำยางและทิศทางที่ควรกรีด

การเปิดกรีดครั้งแรก


ต้นติดตา

1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวันรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม. ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่คำนึงถึงอายุของต้นยาง และเปิดกรีด ณ จุดที่สูงจากพื้นดิน 150 ซม.
2. ในระยะ 3 ปีแรก กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยไม่มีการกรีดชดเชย และควรหยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบ
3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ตลอดไป หลังจากกรีดไปแล้ว 3 ปี และมีการกรีดชดเชย ถ้าวันกรีดน้อยกว่า 200 วันต่อปี
4. กรีดจากซ้ายมาขวา โดยทำมุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ
ต้นกล้า
1. ต้นยางจะเปิดกรีดได้เมื่อวัดรอบต้นตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 75 ซม. ได้ 50 ซม. ขึ้นไป โดยไม่คำนึงถึงอายุของต้นยาง และเปิดกรีดที่จุดสูงจากพื้นดิน 75 ซม.
2. กรีดครึ่งต้น กรีดวันเว้น 2 วัน สำหรับหน้าแรก
3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวันสำหรับหน้าต่อไป โดยไม่ต้องกรีดชดเชยแต่ควรหยุดกรีด เมื่อต้นยางผลัดใบ
4. กรีดจากซ้ายมาขวา โดยทำมุมให้เอียง 30-35 องศา กับแนวระดับ

อุปกรณ์ในการเปิดกรีดยาง

1. ไม้เปิดกรีด
2. มีดกรีดยาง
3. ถ้วยรองน้ำยาง รางและลวดพยุงถ้วย

การเปิดกรีดหน้ายาง
การเปิดกรีดให้เอาไม้แบบที่เตรียมไว้ ทาบเข้ากับส่วนสูงของลำต้น แล้วแนบแผ่นสังกะสีไปทางด้านซ้ายมือ ขีดเส้นตามแนวบนของแ ผ่นสังกะสีรอยที่เกิดขึ้น นี้ คือตำแหน่งหน้ายางที่จะเปิดกรีด ซึ่งมีความสูงและความลาดเอียงตามที่ต้องการ ต่อไปให้เครื่องหมายแนวของเปลือกที่จะต้องกรีดไว้ด้วย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แนวด้านหน้าให้ขีดเส้นลงมาตามแนวของไม้ที่แนบไว้ ส่วนด้านหลังให้ใช้เชือกวัดรอบ< wbr>ต้นตรงความสูงที่จะเปิดกรีด แล้วทบสองความยาวของเชือกซึ่งจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงของต้นยางนั้น เอาปลายเชือกข้างหนึ่งจดที่เส้นแนวหน้าตรงหน้ายางที่จะเปิดกรีด ทาบเชือกไปรอบต้นสุดปลายเชือกก็คือแนวด้านหลัง แล้วขีดเส้นแนวย าวลงไปตามลำต้น


วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง

1. ติดรางรองน้ำยางห่างลงมาจากรอยกรีด 25 ซม. หรือ 9-10 นิ้ว ไม่ควรกดรางให้ลึกถึงเยื่อเจริญของต้นยาง
2. ติดลวดและวางถ้วยรับน้ำยางห่างจากรางรับน้ำยางประมาณ 5-7 ซม. หรือ 2-3 นิ้ว

การสิ้นเปลืองเปลือก
ทุกครั้งที่กรีดยาง เปลือกยางจะถูกตัดออกไป ฉะนั้นเดือนหนึ่ง ๆ ควรกรีดเปลือกยางหมดประมาณ 1 นิ้ว หรือขนาดความกว้างของเหรียญบาท และควร< wbr>ทำเครื่องหมายไว้เพื่อตรวจสอบความสิ้นเปลืองของเปลือกยาง เมื่อกรีดมาถึงโคนหรือใกล้พื้นดิน ค่อย ๆ เลื่อนถ้วยรับน้ำยางจากขวาไปซ้ายตามความหดสั้นลงของรอยกรีด เพื่อใช้เปลือกบริเวณโคนให้หมด โดยไม่ต้องขุดหลุมฝังถ้วยแต่อย่างใด


การเปิดกรีดหน้าที่สอง

เมื่อกรีดยางหน้าแรกหมดแล้ว ให้เปิดกรีดหน้าที่สอง ของเปลือกยาง โดยเปิดกรีดหน้ายางสูงจากพื้นดิน 150 ซม. ทั้งต้นติดตาและต้น< wbr>กล้าและใช้มุมของการกรีดเท่ากับ 30-35 องศา ดังเดิม

ควรกรีดยางเวลาใด


การกรีดยางพันธุ์ดี ไม่จำเป็นต้องกรีดก่อนสว่าง ควรกรีดเมื่อสว่างแล้วคือประมาณ 06.00-08.00 น. ก็จะได้น้ำยางมากเท่า ๆ กันกับการกรีดยางก่อนส ว่าง แต่อย่าให้เกิน 11.00 น.


ข้อควรปฏิบัติ

1. ใช้มีดที่คมอยู่เสมอ
2. กรีดจากซ้ายไปขวา
3. กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน
4. อย่ากรีดลึกถึงเนื้อไม้
5. กรีดบาง ๆ เดือนหนึ่งใช้เปลือกอย่าให้เกิน 1 นิ้ว
6. ควรกรีดยางในตอนเช้าเป็นต้นไป 06.00-08.00 น. อย่าให้เกิน 11.00 น.
7. ไม่กรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก
8. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบ
9. ทำความสะอาดถ้วยน้ำยางก่อนกรีดยางทุกครั้ง
10. เก็บน้ำยางเสร็จ คว่ำถ้วยไว้เสมอ
11. สำหรับสวนยางขนาดเล็ก ควรเปิดกรีดเมื่อต้นยางที่ได้ขนาดเปิดกรีดจำนวน 1/2 ของต้นยางทั้งสวน ส่วนสวนขนาดใหญ่ควรเปิดกร ีด เมื่อต้นยางได้ขนาดเปิดกรีดไม่น้อยกว่า 70% ของต้นยางทั้งหมด
หลักการกรีดยางที่ดี

1. กรีดให้ได้น้ำยางมาก
2. กรีดต้นยางเสียหายน้ำที่สุด
3. กรีดได้นาน 25-30 ปี
4. เปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้จาก เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอหรือเกษตรตำบล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น